“แมรี วอลล์สโตนคราฟต์” คือใคร- ในคำตอบที่ทำให้ “มิสนิการากัว” มงลง

ในการประกวดมิสยูนิเวิร์ส ครั้งที่ 72 หรือ Miss Universe 2023 หนึ่งในคำถามที่นำมาสู่การตัดสินให้ผู้คว้ามงกุฎไปครองคือ “เชย์นิส ปาลาซิออส” (Sheynnis Palacios) หรือ “มิสนิการากัว” ก็คือ “หากคุณสามารถใช้ชีวิตเป็นผู้หญิงคนอื่นได้ 1 ปี คุณจะเลือกใครและเพราะเหตุใด?”

คำตอบของเชย์นิสคือ “แมรี วอลล์สโตนคราฟต์” (Mary Wollstonecraft)

แฟนนางงามข้องใจนิการากัว ใช้ล่ามถ่วงเวลา? ตอบคำถาม

เปิดประวัติคนมง “เชย์นิส ปาลาซิออส” ชาวนิการากัวคนแรกที่คว้ามงกุฎ Miss Universe

รู้จัก “มาลาลา ยูซาฟไซ” ผู้หญิงที่ “แอนโทเนีย” อยากเป็น

เธอบอกว่า “ฉันจะเลือก แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ (Mary Wollstonecraft) เพราะเธอช่วยลดช่องว่างทางสังคมและให้โอกาสผู้หญิงหลายคน และสิ่งที่ฉันจะทำ ฉันอยากลดช่องว่างด้านรายได้ (ระหว่างผู้ชายและผู้หญิง) เพื่อให้ผู้หญิงสามารถทำงานได้ในสถานที่ใดก็ได้ที่พวกเขาเลือก เพราะไม่มีข้อจำกัดสำหรับผู้หญิง นั่นคือเมื่อปี 1750 ตอนนี้ปี 2023 แล้ว เรากำลังสร้างประวัติศาสตร์”

แต่ชื่อดังกล่าวคงไม่คุ้นหูนักสำหรับคนทั่วไป วันนี้ นิวมีเดีย พีพีทีวี จึงชวนมารู้จักกับ แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ (ค.ศ. 1759–1797) นักปรัชญาด้านศีลธรรมและการเมือง ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งปรัชญาสตรีนิยม หรือ เฟมินิสม์ (Feminism)

แมรี วอลล์สโตนคราฟต์ เกิดเมื่อวันที่ 27 เมษายน 1759 ที่สปิทัลฟิลด์ส กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เธอเป็นลูกคนที่ 2 จากทั้งหมด 7 คน

เดิมทีบ้านของเธอมีฐานะค่อนข้างดี เนื่องจากปู่ของเธอเป็นช่างทอผ้าระดับปรมาจารย์ที่ประสบความสำเร็จและทิ้งมรดกไว้มากมาย แต่ เอ็ดเวิร์ด จอห์น พ่อของเธอ ใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย นำไปเล่นพนันร่ำสุรา และพยายามยกระดับฐานะตัวเองว่าเป็นผู้ดี จนนำมาสู่ความเสื่อมถอยทางการเงินและสังคม

นั่นทำให้มีเพียงเอ็ดเวิร์ด (เน็ด) น้องชายของแมรีเท่านั้นที่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นทางการ จนได้กลายเป็นทนายความ และได้รับมรดกของปู่ที่เหลือ และทำให้เธอต้องพยายามเรียนหนังสือด้วยตัวเอง

นอกจากนี้ พ่อของเธอยังเป็นคนอารมณ์ร้าย มักทำร้ายภรรยาหรือแม่ของแมรีทั้งทางวาจาและทางร่างกาย ทำให้เธอไม่สนใจที่จะดูแลครอบครัวอีก และทำให้แมรีต้องกลายเป็นผู้ปกครองของน้องสาวตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย

ช่วงปี 1784 เธอย้ายไปอยู่กับ เอลิซา น้องสาวของเธอที่แต่งงานออกไป เพื่อช่วยดูแลหลานที่เพิ่งเกิด อย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลที่ยังไม่ชัดเจน (บ้างว่าสามีขอเอลิซามีพฤติกรรมใช้ความรุนแรง) แมรีจึงช่วยพาน้องสาวของเธอหนีจากสามี โดยทิ้งลูกสาววัยทารก ซึ่งทารกนั้นเสียชีวิตในปีต่อมา

จากการศึกษาด้วยตนเอง เธอพยายามใช้ความสำเร็จของเธอเพื่อแสดงให้เห็นถึงความสามารถของผู้หญิงในด้านความคิดที่เป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการ แมรีจึงก่อตั้งโรงเรียนสตรีในลอนดอนขึ้นร่วมกับเอลิซาและ แฟนนี บลัด เพื่อนสนิท ในปี 1784

ในเวลาสั้น ๆ โรงเรียนของพวกเธอเริ่มมีชื่อเสียง และเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดของแมรีเกี่ยวกับความจำเป็นของความเท่าเทียมกันในการศึกษาสำหรับผู้หญิงและผู้ชาย โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดที่ว่า รัฐบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการแก้ไขความไม่เท่าเทียมนี้

ด้วยประสบการณ์และแนวคิดดังกล่าว เป็นแรงบันดาลใจให้เธอเขียนหนังสือชื่อ Thoughts on the Education of Daughters (1786) จากนั้นในปีต่อมา เธอเริ่มทำงานเป็นนักแปลให้กับ โจเซฟ จอห์นสัน ผู้จัดพิมพ์ในลอนดอน ซึ่งภายหลังตีพิมพ์ผลงานของเธอหลายชิ้น

 “แมรี วอลล์สโตนคราฟต์” คือใคร- ในคำตอบที่ทำให้ “มิสนิการากัว” มงลง

โดยเฉพาะผลงานที่เลื่องชื่อที่สุดมาจนถึงปัจจุบันอย่าง A Vindication of the Rights of Woman (1792) ซึ่งมีเนื้อหาว่า โดยธรรมชาติ ผู้หญิงไม่ได้ด้อยกว่าผู้ชาย แต่ดูเหมือนจะเป็นเพียงเพราะพวกเธอขาดการศึกษาเท่านั้น ดังนั้น ทั้งชายและหญิงควรได้รับการปฏิบัติเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผลเหมือน ๆ กัน

โดยที่มาของหนังสือเล่มดังกล่าว เกิดจากการที่เมื่อปี 1790 แมรีได้เดินทางไปฝรั่งเศส เพื่อสังเกตการณ์การปฏิวัติฝรั่งเศส และพบว่า การปฏิวัติฝรั่งเศสล้มเหลวในการนำมาซึ่งความเท่าเทียมทางเพศอย่างที่เธอและนักคิดคนอื่น ๆ คาดการณ์ไว้

แมรีบอกว่า มนุษย์ทุกคนมีความสามารถด้านการคิดอย่างมีเหตุผล และผู้หญิงจะต้องได้รับอนุญาตให้ช่วยเหลือสังคมอย่างเท่าเทียมกัน

เธอเขียนว่า “ข้อโต้แย้งหลักของฉันสร้างขึ้นบนหลักการง่าย ๆ ว่า หากผู้หญิงไม่ได้รับการศึกษาพร้อม จะเป็นเหมือนการหยุดความก้าวหน้าของความรู้และคุณธรรม”

แมรีบอกว่า ผู้หญิงจะต้องได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันกับผู้ชาย หากผู้หญิงไม่ได้รับโอกาสนี้ ความก้าวหน้าทางสังคมและสติปัญญาก็จะหยุดชะงัก

เธอยังได้พบรักกับชาวอเมริกันที่ชื่อว่า กัปตัน กิลเบิร์ต อิมเลย์ โดยในปี 1794 แมรีคลอดลูกสาวคนแรก ตั้งชื่อว่า แฟนนี แต่ในปีต่อมา เธอกับอิมเลย์จบความสัมพันธ์กัน และเธอเดินทางกลับมายังอังกฤษ

แมรีกลับมาทำงานให้กับจอห์นสันอีกครั้ง และเข้าร่วมกลุ่มนักคิดกลุ่มหนึ่ง จนได้พบกับ วิลเลียม ก็อดวิน นักข่าว นักปรัชญาการเมือง และนักประพันธ์ชาวอังกฤษ ผู้ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในตัวแทนลัทธิประโยชน์นิยม (Utilitarianism) ยุคแรก และเป็นผู้สนับสนุนลัทธิอนาธิปไตยสมัยใหม่คนแรก

ปี 1796 เธอตักสินใจคบกับก็อดวิน และตั้งครรภ์ในปีต่อมา ทั้งคู่แต่งงานกัน แต่หลังคลอดลูกสาวคนที่สองได้เพียง 11 วัน แมรีก็เสียชีวิต

ทั้งนี้ ลูกสาวคนที่สองของเธอ แมรี วอลสโตนคราฟต์ เชลลีย์ ได้กลายเป็นนักเขียนชื่อดัง เจ้าของผลงานวรรณกรรมชื่อก้องโลกอย่าง “แฟรงเกนสไตน์” (Frankenstein)

เรียบเรียงจาก Britannica / Brooklyn Museum / Columbia College

ภาพจาก

DeA Picture Library/age footstock

Library of Congress Rare Book and Special Collections Division Washington, D.C. 20540 USA

Marvin RECINOS / AFP

ด่วน! 4 คนร้ายบุกยิงนักเรียนช่างภายในซ.ระนอง 2 เสียชีวิต 1 ราย

โดดเด่นบนเวที Miss Universe! “ชุดเทพธิดาอาณาจักรอยุธยา“ ถูกเลือกลงหนังสือพิมพ์ ”เอลซัลวาดอร์“

มอเตอร์เวย์ M81 “บางใหญ่ – กาญจนบุรี” เตรียมเปิดทดลองใช้ฟรีปลายปี คำพูดจาก เว็บสล็อตเว็บตรง